ตารางธาตุ

ตารางธาตุ
                ตารางธาตุ (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี 
คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ (Dmitri Mendeleev) 
ในปี พ.ศ. 2412 จากการสังเกตว่า เมื่อนำธาตุที่รู้จักมาวางเรียงตามลำดับ
เลขอะตอม จะพบว่าคุณสมบัติพื้นฐานบางอย่างคล้ายสามารถจำแนกเป็น
กลุ่มๆ ได้ ทำให้เกิดรูปแบบตารางธาตุ และพัฒนาต่อเนื่องมาจนเป็นอย่าง
ที่เห็นตารางธาตุเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วย และเขายังได้
เกียรตินำชื่อของ เขามาเป็นชื่อธาตุ เมนดีลีเวียม อีกด้วย

ประวัติศาสตร์ของตารางธาตุ

เริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม 
แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน 
นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส 
ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติ
เหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ 
พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) 
นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม 
(ต่อมาคือธาตุแกลเลียมเอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม
แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่
ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่า 
มาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้
ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน มื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของ
ธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย 
ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นจนถึงยุคปัจจุบัน

ตารางธาตุแบบมาตรฐาน

                      à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ เคมี ตารางธาตุ


ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีน้ำเงิน เป็นของเหลวที่ STP
รหัสสีสำหรับเลขเชิงอะตอม:

  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีเขียว เป็นก๊าซที่ STP
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีดำ เป็นของแข็งที่ STP
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีแดง เป็น ธาตุสังเคราะห์ 
  • (ทุกธาตุเป็นของแข็งที่ STP)
  • ธาตุที่เลขเชิงอะตอมเป็น สีเทา ยังไม่มีการค้นพบ 
  • (ธาตุเหล่านี้ในตารางจะมีสีพื้นจาง ๆ 
  • ที่ใกล้เคียงกับสีพื้นของอนุกรมเคมีที่ธาตุดังกล่าวน่าจะเป็นสมาชิก)


ชื่อธาตุแบ่งตามหมู่

ยกเว้น ไฮโดรเจน เพราะยังถกเถียงกันอยู่ว่าจะจัดลงไปที่หมู่ 1 หรือ 7 ดี เพราะ
คุณสมบัติเป็นกึ่ง ๆ กัน ระหว่าง 1A กับ 7A และธาตุประเภททรานซิชัน โดยทั่วไป 
ไม่แนะนำให้จำ แต่อาศัยดูตารางเอา และควรจำคุณสมบัติของธาตุที่สำคัญ ๆ ให้ได้ 
หรืออาจจะใช้หลักการในการท่องให้ง่ายขึ้น 
เช่นการใช้ตัวย่อของแต่ละคำมารวมกันเป็นประโยคที่จำง่าย ๆ ซึ่งจะทำให้จำได้ไวขึ้น

https://sites.google.com/site/khemim4thexm1kullaket/khemi-m-4-thexm1/tarang-thatu
  
                                                       homepage

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติที่มาแบรนด์ Off-White