ประวัติว่ายน้ำสากล

ประวัติว่ายน้ำ

ประวัติว่ายน้ำสากล
           กีฬาว่ายน้ำ (Swimming) ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะมนุษย์สามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามชายทะเล แม่น้ำ ลำคลอง และที่ราบลุ่มต่างๆ เช่น พวกเอสซีเรีย อียิปต์ กรีก และโรมัน มีการฝึกหัดว่ายน้ำกันมาตั้งแต่ก่อนคริสตกาล เพราะมีผู้พบภาพวาดเกี่ยวกับการว่ายน้ำในถ้ำบนภูเขาแถบทะเลทรายลิบยาน 
          การว่ายน้ำในสมัยนั้นเพียงเพื่อให้สามารถว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามได้ หรือเมื่อเกิดอุทกภัยน้ำท่วมป่าและที่อยู่อาศัยก็สามารถพาตัวไปในที่น้ำท่วมไม่ถึงได้อย่างปลอดภัย 
 การว่ายน้ำได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน แต่มีหลักฐานบันทึกไว้ไม่นานนัก Ralph Thomas ให้ชื่อแบบว่ายน้ำที่มนุษย์ใช้ว่ายกันมาตั้งแต่เดิมว่า ฮิวแมน สโตร์ก (Human stroke) นอกจากนี้พวกชนชาติสลาฟและพวกสแกนดิเนเวียรู้จักการว่ายน้ำอีกแบบหนึ่ง โดยใช้เท้าเคลื่อนไหวในน้ำคล้ายกบว่ายน้ำ หรือที่เรียกว่าฟล็อกคิก (Flogkick) แต่วิธีการเคลื่อนไหวของท่าแบบนี้จะทำให้ว่ายน้ำได้ไม่เร็วนัก
          การแข่งขันว่ายน้ำครั้งแรกได้จัดขึ้น วูลวิช บาร์ท (Woolwich Baths) ใกล้กับกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2416 การแข่งขันครั้งนั้นมีการแข่งขันเพียงแบบเดียวคือ แบบฟรีสไตล์ (Free style) โดยผู้ว่ายน้ำแต่ละคนจะว่ายแบบใดก็ได้ ในการแข่งขันครั้งนี้ J. Arhur Trudgen เป็นผู้ได้รับชัยชนะ โดยเขาได้ว่ายแบบเดียวกับพวกอินเดียแดงในอเมริกาใต้ คือแบบยกแขนกลับเหนือน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการว่ายน้ำของเขาได้กลายเป็นแบบที่ได้รับความนิยมมากจนได้ชื่อว่า ท่าว่ายน้ำแบบทรัดเจน (Trudgen stroke)
         ประชาชนชาวโลกได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการว่ายน้ำเพิ่มมากขึ้น เมื่อเรือเอก Mathew Webb ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษจากเมืองโดเวอร์ คาเลียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2418 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 21 ชั่วโมง 45 นาที ด้วยการว่ายแบบกบ (Breast stroke) ข่าวความสำเร็จอันนี้ได้สร้างความพิศวงและตื่นเต้นไปทั่วโลก ต่อมาเด็กชาวอเมริกันชื่อ Gertude Ederle ได้ว่ายน้ำข้ามช่องแคบอังกฤษ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2469 ทำเวลาได้ 14 ชั่วโมง 31 นาที โดยว่ายน้ำแบบท่าวัดวา (Crawa stroke) จะเห็นได้ว่าในชั่วระยะเวลา 50 ปี 
          การว่ายน้ำได้วิวัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก ถ้าหากได้พิจารณาถึงเวลาของคนทั้งสองที่ทำได้ แบบและวิธีว่ายน้ำได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเร็วขึ้นเสมอ ในบรรดานักว่ายน้ำทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวแลนเคเชียร์และออสเตรเลีย ได้ดัดแปลงวิธีว่ายน้ำแบบทรัดเจน ซึ่งก็ได้รับผลดีในเวลาต่อมา กล่าวคือ Barney Kieran ชาวออสเตรเลียและ T. S. Battersby ชาวอังกฤษ ได้ว่ายน้ำแบบที่ปรับปรุงมาจากทรัดเจน เป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2449-2415
        Alex Wickham ชาวเกาะโซโลมอนเป็นผู้ริเริ่มการว่ายน้ำแบบท่าวัดวาและเป็นผู้ครองตำแหน่งชนะเลิศของโลก ระยะทาง 50 หลา เขาได้กล่าวว่าเด็กโซโลมอนทุกคนว่ายน้ำแบบนี้ทั้งนั้น ต่อมาท่าว่ายน้ำแบบวัดวาจึงเป็นที่นิยมฝึกหัดกันโดยทั่วไป
        กีฬาว่ายน้ำได้จัดเข้าไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2436 และได้จัดการแข่งขันมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุดังกล่าวกีฬาว่ายน้ำก็ได้รับความสนใจจากคนทั่วไป และถือเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการพัฒนากีฬาว่ายน้ำให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นเป็นลำดับ โดยมีผู้คิดแบบและประเภทของการว่ายน้ำเพื่อความสนุกสนาน และความตื่นเต้นในการแข่งขันมากขึ้น

ประวัติกีฬาว่ายน้ำในประเทศไทย
สมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้จดทะเบียนสมาคมต่อกรมตำรวจเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมว่ายน้ำฯคนแรกคือ พลเรือโท สวัสดิ์ ภูติอนันต์ ร.น. ในปีเดียวกันนี้สมาคมว่ายน้ำฯได้เข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติในปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณจำนวน 10 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสระว่ายน้ำมาตรฐานขนาดความยาว 50 เมตร กว้าง 25 เมตร พร้อมทั้งที่กระโดดน้ำ และอัฒจันทร์คนดูจำนวน 5,000 ที่นั่ง ณ บริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ และเปิดใช้ในการแข่งขัน เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2506 เรียกว่า สระว่ายน้ำโอลิมปิก (ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นสระว่ายน้ำวิสุทธารามย์) และสมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์ว่ายน้ำแห่งเอเชียในปี พ.ศ. 2509
ในปี พ.ศ. 2548 สมาคมว่ายน้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย” ชื่อย่อ ส.ว.ท. ชื่อภาษาอังกฤษ THAILAND SWIMMING ASSOCIATION  ชื่อย่อ AST   สมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย ( ส.ว.ท. ) เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนการเล่นกีฬาว่ายน้ำ กระโดดน้ำ โปโลน้ำ และระบำใต้น้ำ
ปัจจุบันกีฬาว่ายน้ำในประเทศไทยได้รับความสนใจจากประชาชนมากยิ่งขึ้น ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุกีฬาว่ายน้ำไว้ในหลักสูตรเกือบทุกระดับ มีการจัดกิจกรรมการแข่งขันตลอดทั้งปี บรรจุลงในการแข่งขันระดับประเทศ คือ กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งชาติ  กีฬาเยาวชนแห่งชาติ  กีฬาแห่งชาติ กีฬาชิงแชมป์ประเทศไทยทั้งสระ 50 เมตร สระ 25 เมตร
ส่วนระดับนาๆชาติก็มีการจัดการแข่งขันในระดับ ซีเกมส์ เอเชียเกมส์  โอลิมปิค ชิงแชมป์โลกทั้งสระ 50 เมตร สระ 25 เมตร  ระดับเยาวชนก็มีรายการซีเอจกรุ๊ป  เอเชียเอจกรุ๊ป  กีฬาว่ายน้ำนักเรียนอาเซียนเป็นต้น

กติกาการแข่งขันว่ายน้ำ

การตัดสิน
ลำดับที่ผู้แข่งขันทุกคนจะกำหนดโดยการเปรียบเทียบเวลาที่เป็นทางการของแต่ละคนถ้าเวลาทางการเท่ากันหลายๆ คน ก็ให้ลำดับที่เท่ากันในรายการนั้นๆ ได้

ผู้ควบคุมการแข่งขัน 
 ผู้ตัดสินชี้ขาด   1   คน
 กรรมการดูฟาวล์   4   คน
 ผู้ปล่อยตัว    2   คน
 หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ)   2   คน
 กรรมการดูการกลับตัว (อยู่คนละด้านของสระ) 2   คน
 หัวหน้าผู้บันทึก   1   คน
 ผู้บันทึก    1   คน
 ผู้รับรายงานตัว   2   คน
 กรรมการเชือกฟาวล์   1   คน
 ผู้ประกาศ    1   คน
 จากการแข่งขันไม่สามารถใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติได้ จะต้องมีการแต่ตั้งกรรมการเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ
 หัวหน้าผู้จับเวลา   1   คน
 ผู้จับเวลาลู่ละ    3   คน
 (กรรมการจับเวลาสำรอง 2 คน)
 หัวหน้าเส้นชัย    1   คน
 กรรมการเส้นชัย (อย่างน้อย)  1   คน

หน้าที่ 
– ผู้ตัดสินชี้ขาด เป็นผู้ควบคุมและมีอำนาจสูงที่สุด โดยจะมอบหมายหน้าที่ และให้คำชี้แนะกับเจ้าหน้าที่ต่างๆ จะต้องตัดสินปัญหาทุกชนิดการตัดสินขั้นสุดท้ายถือเป็นสิ้นสุดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 
– ผู้ปล่อยตัว มีอำนาจควบคุมการแข่งขันอย่างเต็มที่ เมื่อได้รับสัญญาณมือจากผู้ตัดสินชี้ขาด การปล่อยตัวแต่ละรายการผู้ปล่อยตัวจะอยู่หางจากสระ 5 เมตร 
– ผู้รับรายงานตัว ต้องเตรียมกรอกรายชื่อนักว่ายน้ำลงในแบบฟอร์มแต่ละรายการก่อนการแข่งขัน 
– หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว ดูแลว่าเจ้าหน้าที่ดูการกลับตัวทุกคน ทำหน้าที่ในการแข่งขันเป็นอย่างดี เมื่อพบเห็นว่ามีการทำผิดกติกาจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินชี้ขาดทราบทันที่ 
– กรรมการดูการกลับตัว ต้องดูแลและเตือนเมื่อนักว่ายน้ำในลู่ของตนว่ายเข้ามาเหลือระยะทางอีก 5 เมตร 
– กรรมการดูการฟาวล์ ต้องเป็นผู้เข้าใจในกติกาเป็นอย่างดี และจะต้องช่วยดูการกลับตัวจากผู้ช่วยกรรมการกลับตัว และจะต้องทำการบันทึกการทำผิดกติกาของแต่ละลู่ ให้ต่อผู้ตัดสินชี้ขาด 
– หัวหน้าผู้จับเวลา ต้องเก็บรวบรวมแบบฟอร์มบันทึกเวลาของกรรมการจับเวลาทุกคน ในกรณีที่นาฬิกาจับเวลาไม่สามารถจับเวลาได้ หัวหน้าผู้จับเวลาอาจทำการตรวจสอบนาฬิกาเรือนนั้น 
– กรรมการจับเวลา นาฬิกา แต่ละเรือนจะต้องได้รับจากคณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน จะต้องเดินเวลาเมื่อมีสัญญาณเริ่ม และต้องหยุดเวลาเมื่อผู้เข้าแข่งขันในลู่ว่ายของเขาได้สิ้นสุดการว่ายที่สมบูรณ์ 
– หัวหน้ากรรมการเส้นชัย เป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยแต่ละคนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดไว้ และกรรมการเส้นชัยจะรวบรวมข้อมูลลำดับที่ให้หัวหน้ากรรมการเส้นชัย หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องนำส่งผลต่อผู้ตัดสินชี้ขาด และจะต้องบันทึกข้อมูลการแข่งขันที่ใบบันทึกด้วยเครื่องอัตโนมัติ ภายหลังการแข่งขันแต่ละรายการสิ้นสุด 
– กรรมการเส้นชัย มีหน้าที่กดปุ่มสัญญาณเท่านั้นจะต้องไม่ทำหน้าที่ก้าวก่ายการจับเวลาในรายการเดียวกัน 
– เจ้าหน้าที่ควบคุมการแข่งขัน รับผิดชอบตรวจสอบผลการแข่งขัน กรรมการทุกคนจะต้องตัดสินใจด้วยตัวของตัวเอง นอกเสียจากว่าปัญหานั้นๆ กติกาได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว

การจับเวลา 
– ให้มีจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
– ถ้านาฬิกาจับเวลา 2 ใน 3 เรือน เท่ากันให้ใช้การจับเวลานั้น
– ถ้านาฬิกาทั้ง 3 เรือนนั้น ไม่ตรงกัน ให้ใช้เวลาของนาฬิกาที่เป็นเวลาที่เป็นทางการ

แนะนำการดูว่ายน้ำ
1. การจัดเข้าลู่ว่ายในรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ
     1.1 การแข่งขันอื่นๆ อาจใช้ระบบจับฉลากเป็นเครื่องกำหนดตำแหน่งลู่ว่ายของผู้เข้าแข่งขันได้
     1.2 ถ้าเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ การจัดเข้าสู่ลู่ว่าย ดังนี้
     – รอบคัดเลือก ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องแจ้งเวลาว่ายของตนไม่เกิน 12 เดือน ไว้ในใบสมัครใครไม่แจ้งถือว่ามีเวลาช้าที่สุด และอยู่ในลำดับสุดท้ายของบัญชีรายชื่อ ถ้ามีหลายคนให้ตัดสินโดยการจับฉลาก
     – ถ้ามี 2 ชุด ผู้มีเวลาเร็วที่สุดให้อยู่ในชุดที่ 2 ให้ผู้มีเวลาเร็วคนที่ 2 อยู่ในชุดที่ 1 ผู้มีเวลาเร็วเป็นคนที่ 3 ให้อยู่ในชุดที่ 2 และผู้มีเวลาเร็วคนที่ 4 อยู่ในชุดที่ 1 สลับไปเรื่อยๆ
     – ถ้ามี 3 ชุด ผู้มีเวลาเร็วที่สุดอยู่ในชุดที่ 3 ผู้ที่มีเวลาเร็วคนที่ 2 อยู่ในชุดที่ 2 ผู้มีเวลาเร็วคนที่ 3 อยู่ในชุดที่ 1 สลับไปเรื่อย (ชุด 3-2-1)
     – ถ้ามี 4 ชุด หรือมากกว่า ใน 3 ชุด ให้จัดเหมือนกันกับชุดที่ 3 โดยที่ผู้มีเวลาเร็วที่สุดให้ไปชุดที่ 4 (ชุด 4-3-2-1) การกำหนดลู่ของการว่าย 50 เมตร ลู่หมายเลข 1 จะอยู่ทางขวาของสระเมื่อยืนหันหน้าไปทางปลายสระ ผู้มีเวลาเร็วที่สุดจะอยู่กลางสระลู่ที่ 3 หรือ 4 คนที่มีเวลารองลงไปให้อยู่ทาง…มือของคนแรก คนที่มีเวลารองลงไปอีกให้อยู่ทาง…มือของคนแรก สลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าเวลาเท่ากันให้จับฉลาก
2. การเริ่มต้นแตกต่างกัน ดังนี้
     2.1 ฟรีสไตล์ , กบ และผีเสื้อ จะต้องเริ่มโดยการกระโดดพุ่งตัวออกจากแท่นกระโดดลงไปในน้ำ
     2.2 กรรเชียง และผลัดผสม จะต้องเริ่มจากในน้ำ
     2.3 การเริ่มต้นที่มีการฟาวล์เกิดขึ้น จะต้องมีเสียงสัญญาณการฟาวล์ และจะต้องปล่อยเชือกฟาวล์ลงไปในน้ำด้วย
3. แบบของการว่าย มีหลายแบบ คือ
     3.1 การว่ายแบบฟรีสไตล์ คือการว่ายแบบใดก็ได้ยกเว้นการว่ายแบบเดี่ยวผสม หรือผลัดผสมจะต้องว่ายนอกเหนือจากการว่ายแบบกรรเชียง, กบ หรือผีเสื้อ การกลับตัวก็สามารถที่จะใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดแตะขอบสระได้
     3.2 การว่ายแบบกรรเชียง จะต้องถีบตัวออกในลักษณะนอนหงาย ต้องว่ายในท่านอนหงายตลอดการแข่งขัน บางส่วนของร่างกายต้องพ้นผิวน้ำตลอดการแข่งขัน ยกเว้นเวลากลับตัวจะจมน้ำไม่เกิน 15 เมตร เมื่อกลับตัวแล้วจะต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายแตะผนังสระและเข้าเส้นชัยในท่านอนหงาย
     3.3 การว่ายแบบกบ จะต้องอยู่ในลักษณะคว่ำหน้า แขนทั้ง 2 ข้างจะต้องเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน มือทั้ง 2 ต้องพุ้งไปข้างหน้าพร้อมกันส่วนข้อศอกอยู่ใต้ผิวน้ำเมื่อดึงมือไปข้างหน้าพร้อมกันจะต้องอยู่ใต้ผิวน้ำ ขาทั้ง 2 ต้องเคลื่อนที่พร้อมกัน การเตะเท้า เตะไปด้านหลัง การกลับตัว การเข้าเส้นชัยต้องแตะด้วยมือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน การดึงแขน 1 ครั้ง และการเตะขา 1 ครั้ง จะต้องมีบางส่วนของศีรษะโผล่พ้นระดับให้เห็น ยกเว้นการกลับตัวให้ดำน้ำได้ 1 ครั้ง
     3.4 การว่ายแบบผีเสื้อ จะต้องคว่ำหน้าตลอดระยะทาง ไม่ให้ม้วนตัวหงายกลับในการกลับตัว แขนทั้ง 2 จะต้องยกเหนือน้ำพร้อมๆ กัน การเข้าเส้นชัย และการกลับตัวจะต้องแตะขอบสระด้วยมือทั้ง 2 พร้อมๆ กันดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้งเท่านั้น
     3.5 การว่ายแบบผสม
          3.5.1 การว่ายแบบเดี่ยวผสม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องว่าย 4 แบบ ตามลำดับ ผีเสื้อ, กรรเชียง, กบ, และฟรีสไตล์
          3.5.2 การว่ายแบบผลัดผสม มีผู้เข้าแข่งขัน 4 คน ต้องว่ายคนละ 1 แบบ ตามลำดับ คือ กรรเชียง, กบ, ผีเสื้อ และฟรีสไตล์
4. การแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องว่ายตลอดระยะทางที่กำหนดไว้ ต้องเข้าเส้นชัยตามลู่เดิมที่เขาตั้งต้น การกลับตัวต้องกระทำกับผนังหรือขอบสระเท่านั้น ไม่อนุญาตให้เดินหรือก้าวที่ก้นสระ ผู้ที่ว่ายเข้าไปในลู่ของคนอื่นจะถูกปรับให้แพ้ การแข่งขันว่ายผลัดจะต้องมีทีมละ 4 คน และถ้าผู้เล่นคนใดกระโดดออกจากแท่นก่อนที่เพื่อนร่วมทีมจะว่ายเข้ามาแตะผนังสระ จะต้องให้ออกจากการแข่งขัน ยกเว้นขากลับมาแตะอีกครั้งหนึ่ง…… โดยไม่ต้องขึ้นไปกระโดด ผู้ว่ายผลัดเมื่อว่ายเสร็จแล้ว จะต้องขึ้นจากสระทันที
 ชนิดของการแข่งขัน (จะมีการบันทึกเป็นสถิติโลก)
 ฟรีสไตล์  50, 100, 200, 400, 800 และ 1,500  เมตร
 กรรเชียง  100 และ 200   เมตร
 กบ  100 และ 200   เมตร
 ผีเสื้อ  100 และ 200   เมตร
 เดี่ยวผสม  200 และ 400   เมตร
 ผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 และ 4 x 200    เมตร
 ผลัดผสม  4 x 100    เมตร

http://www.parwat.com/391

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติที่มาแบรนด์ Off-White